รำมวยโบราณ สกลนคร

รำมวยโบราณ ภาคอีสานในสมัยโบราณก่อนที่จะมีมวยคาดเชือก มวยเวที มีมวยแบบหนึ่งเรียกกันหลายชื่อ เช่น มวยลาวบ้างเสือลากหางบ้าง มวยดังกล่าวนี้นิยมฝึกหัดตามคุ้มวัดตามหมู่บ้าน เพื่อให้มีกำลังวังชา

สามารถต่อสู้ป้องกันตัวได้และในขณะเดียวกันก็คำนึงถึง ความสวยงามของลีลาท่ารำท่าฟ้อน มีการร่ำเรียนเวทมนต์คาถา เสกเป่าหมัดเข่าให้มีพละกำลังแข็งแกร่งจนคู่ต่อสู้ทำอันตรายไม่ได้

ในปัจจุบันจังหวัดสกลนครเป็นแหล่งเดียวที่ยังมีมวยโบราณในงานเทศกาลงานบุญประเพณี เช่น เทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษาในเทศกาล ออกพรรษา ในเทศกาลงานบุญเหล่านี้ ชาวบ้านจะจัดขบวนแห่ของคุ้มวัดเข้า ร่วมขบวนอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะชาวสกลนคร ในเขตรอบๆเมืองถือกันมาแต่โบราณว่าเมื่อถึงเทศกาลบุญพระเวศเทศน์มหาชาติเดือนี่แล้วชาวคุ้มจะจัดเป็นขบวนแห่ฟ้อนรำไปตาม ถนนผ่านหน้าบ้านผู้คนเพื่อบอกบุญ ทำบุญร่วมกันถวายแด่องค์พระธาตุเชิงชุม ขบวนแห่ของชาวคุ้ม

นอกจากจะประกอบด้วย ผู้คนทั้งหนุ่มสาว เฒ่าชรา แต่งกายสวยงานตามแบบพื้นเมืองฟ้อนรำไปตามถนนหนทางแล้วยังมีนักมวยของแต่ละคุ้มนำหน้าขบวนเป็นที่สุดุดตาแก่ผู้พบเป็น นักมวยแต่ละคนจะนุ่งโจงกระเบนหยักรั้งปล่อยชายกระเบนห้อยลงมาพองามด้วยเหตุนี้เองชาวบ้านจึงมักเรียก นักมวยว่า “พวกเสือลากหาง”

การแต่งกายของผู้รำมวยโบราณนอกจากจะแต่งด้วยผ้าหยักรั้งปล่อยห้อยชายกระเบน ความงดงามของมวยโบราณอยู่ที่ท่าทางการไห้วครู ซึ่งใช้ลีลาจากอากัปกิริยาของสัตว์ เช่น เสือ ช้าง ม้า วัว ควาย มาดัดแปลงด้วย ลีลาของนักมวยแล้วเคลื่อนไหวเหยาะย่างให้เข้ากับเสียงกลองเสียงแคน

นักมวยบางคนยังนำเอาท่าทางของลิงของยักษ์ในเรื่องรามเกียรติ์มาประดิษฐ์เป็นท่าทางร่ายรำอย่างสวยงาม อันเนื่องมาจากความงดงามของนักมวยโบราฯ ซึ่งเป็นศิลปะผสมผสานระหว่าง นาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานและชั้นเชิงของการต่อสู้จึงทำครูมวยโบราณขึ้น

นายจำลอง นวลมณี ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญ เป็นผู้รักและสนใจการแสดงมวยโบราณได้ ทุ่มเทเวลาให้กับการฝึกมวยโบราณให้กับนักเรียนประถมมัธยม และพนักงานดับเพลิงของเทศบาลเมืองสกลนครการแสดงมวยโบราณ

แบ่งเป็น 3 ตอน คือขบวนแห่มวยโบราณท่าไหว้ครูหรือรำเดี่ยว และการต่อสู้ เป็นที่น่าสังเกตว่า มวยโบราณไม่ใช้การต่อสู้แบบเข้าคลุกวงใน ทั้งนี้เพราะจะทำเห็นลีลาท่าฟ้อนรำน้อยไป แต่นักมวยจะเข้าไปเล่นงานคู่ต่อสู้พร้อมกับถอยมาร่ายรำเป็นระยะ ๆแล้วจึงบุกเข้าไปหรือเตรียมตั้งรับหรือตอบโต้คู่ต่อสู้

กล่าวได้ว่าความสนุกสนานของมวยโบราณ อยู่ที่ชั้นเชิงและกลเม็ดของนักมวย ผู้ที่เจนจัดมักมีลูกเล่นกลเม็ดแพรวพรายทั้งท่ารุก ท่ารับ ซึ่งหมายถึงการฝึก หัดมาอย่างดีในท่ารุกเข้าพิชิตคู่ต่อสู้หลายแบบนักมวย โบราณที่มีความคล่องตัวนักนิยมเล่นงานคู่ต่อสู้ด้วยเท้า

ในขณะที่เสียเปรียบคู่ต่อสู้จนเสียหลักซวนเซ นักมวยจะแก้ปัญหา เช่น การหลบ โดยหลบ ลอดได้อย่างเร็ว พร้อมใช้เท้าถีบคู่ต่อสู้ให้ล้มหรือใช้ศอกถอง แต่ก็ต้องระวังท่าจรเข้ฟาดหางจากฝ่ายตรงข้าม ตอบโต้ด้วย

มวยโบราณจึงมิใช่มวยทีชกกันเอาแพ้ชนะเช่นมวยในยปัจจุบัน แต่หากเป็นการต่อสู้ที่เน้นศิลปะของท่ารำ รำมวยโบราณซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้แขนงหนึ่งของลูกผู้ชายในสมัยโบราณ เป็นการต่อสู้ขั้นพื้นฐานซึ่งใช้ อาวุธในร่างกายที่มีอยู่เพื่อป้องกันตนเองหรือแสดงอำนาจให้คู่ต่อสู้เกรงขาม

โดยมีลีลามวยมากมายหลาย แบบและรำต่อเนื่องเป็นขบานท่า แต่ละท่าจะมีชื่อเรียกดังนี้ เสือสำอางย่างสามขุม กุมภัณฑ์ถอยทัพ ลับหอกโมกสักข์ ตกผาบปราบมอญ ทะยานเหยื่อเสือลากเสือ ไก่เลียบเล้า พระรามน้าวคันศร กินนรเข้าถ้ำ เตี้ยต่ำเสือหมอบ ทรพีชนพ่อ ล่อแก้วเมขลา ม้ากระทืบโรง โขลงช้างทะยานป่า ฯลฯ

การแต่งกายของผู้แสดงท่ารำมวยโบราณ นิยมนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบนหยักรั้ง เพื่อให้เห็นลายสักขา (ปัจจุ บันนุ่งผ้าสีแดง) โดยเปลือยท่อนบนให้เห็นรอยสักเช่นกัน การสักมักจะสักเป็นรูปสัตว์ที่มีอำนาจ เช่น เสือ ครุฑ และมีตะกรุดรัดที่แขน ภายในบรรจุ เครื่องรางของขลังซ่อนเอาไว้บนศรีษะจะมีมงคลสวมอยู่

เวลาต่อสู้กันจึงถอดมงคลออก เช่นเดียวกับ มวยไทย การตัดสินแพ้ชนะกันของมวยโบราณ กรรมการจะดูเมื่อทั้งคู่เข้าลุกวงในกันสักระยะหนึ่ง แล้วผลออกมาก็จะรู้ว่าฝ่ายในมีฝีมือมากน้อยเท่าใด

แต่หากทั้งคู่มีฝีมือพอ ๆ กัน จะตัดสินที่ท่ารำเป็นสำ คัญ นักมวยโบราณมีความเชื่อมั่นในความคงกระพันชาตรีมาก บางคนนิยมสักว่าน เสกด้วยคาถาอาคม เช่น การเสกหมัดมนต์ฟ้าผ่า เป็นต้น

เป็นที่น่าสงเกตุว่า มวยโบราณนั้นจะไม่มีการอาฆาตแค้นกัน เมื่อการต่อสู้ผ่านพ้นไปก็เลิก รากัน โดยไม่ถือโทษโกธรเคืองแค้น ด้วยเหตุนี้คนโบราณจึงมิได้มีจิตใจที่ชั่วร้าย มุ่งจะทำลายกัน แต่จะ มีน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง ปัจจุบันมวยโบราณจะมีการแสดงรำให้เห็นที่จังหวัดสกลนครเท่านั้น และค่อนข้างจะหาดูได้ ยากเต็มที เพราะขาดการอนุรักษ์อย่างจริงจัง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *