รำมวยโบราณ สกลนคร

รำมวยโบราณ ภาคอีสานในสมัยโบราณก่อนที่จะมีมวยคาดเชือก มวยเวที มีมวยแบบหนึ่งเรียกกันหลายชื่อ เช่น มวยลาวบ้างเสือลากหางบ้าง มวยดังกล่าวนี้นิยมฝึกหัดตามคุ้มวัดตามหมู่บ้าน เพื่อให้มีกำลังวังชา สามารถต่อสู้ป้องกันตัวได้และในขณะเดียวกันก็คำนึงถึง ความสวยงามของลีลาท่ารำท่าฟ้อน มีการร่ำเรียนเวทมนต์คาถา เสกเป่าหมัดเข่าให้มีพละกำลังแข็งแกร่งจนคู่ต่อสู้ทำอันตรายไม่ได้ ในปัจจุบันจังหวัดสกลนครเป็นแหล่งเดียวที่ยังมีมวยโบราณในงานเทศกาลงานบุญประเพณี เช่น เทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษาในเทศกาล ออกพรรษา ในเทศกาลงานบุญเหล่านี้ ชาวบ้านจะจัดขบวนแห่ของคุ้มวัดเข้า ร่วมขบวนอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะชาวสกลนคร ในเขตรอบๆเมืองถือกันมาแต่โบราณว่าเมื่อถึงเทศกาลบุญพระเวศเทศน์มหาชาติเดือนี่แล้วชาวคุ้มจะจัดเป็นขบวนแห่ฟ้อนรำไปตาม ถนนผ่านหน้าบ้านผู้คนเพื่อบอกบุญ ทำบุญร่วมกันถวายแด่องค์พระธาตุเชิงชุม ขบวนแห่ของชาวคุ้ม นอกจากจะประกอบด้วย ผู้คนทั้งหนุ่มสาว เฒ่าชรา แต่งกายสวยงานตามแบบพื้นเมืองฟ้อนรำไปตามถนนหนทางแล้วยังมีนักมวยของแต่ละคุ้มนำหน้าขบวนเป็นที่สุดุดตาแก่ผู้พบเป็น นักมวยแต่ละคนจะนุ่งโจงกระเบนหยักรั้งปล่อยชายกระเบนห้อยลงมาพองามด้วยเหตุนี้เองชาวบ้านจึงมักเรียก นักมวยว่า “พวกเสือลากหาง” การแต่งกายของผู้รำมวยโบราณนอกจากจะแต่งด้วยผ้าหยักรั้งปล่อยห้อยชายกระเบน ความงดงามของมวยโบราณอยู่ที่ท่าทางการไห้วครู ซึ่งใช้ลีลาจากอากัปกิริยาของสัตว์ เช่น เสือ ช้าง ม้า วัว ควาย Read More …