ก่อนอื่นผู้เขียนก็ไม่ได้เก่งอะไรมากมายหรือมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพียงแต่ได้ศึกษาตามหนังสือ จามที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนมาอีกที
สีเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งในการถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร อารมณ์ ศิลปะ และนามธรรม ก็จะใช้สีที่ต้องการสื่อออกมา ทฤษฎีสีจึงถือว่ามีความจำเป็นมากต่อการถ่ายภาพ รวมไปถึงการเตรียมตัว เสื้อผ้า องค์ประกอบฉาก บรรยากาศหรือแม้นกระทั้งกระบวนการโพสโปรเสสก็จะต้องใช้ความรู้เรื่องสีทั้งนั้น

แม่สี เกิดจากการแยกตัวจากสีขาว ออกมาเป็นเฉดสีต่างๆตามความยาวของคลื่น แบ่งแม่สีขั้นที่1 ได้เป็น สีแดง สีเขียว และน้ำเงิน การผสมสีจะทำให้เกิดสีเพิ่มขึ้นมาอีก 3 สี เรียกว่าสี
ขั้นที่2 คือเหลือง แดงอมม่วง และสีฟ้าทั้งสามสีจะทำให้เกิดทฤษฎีสีคู่ตรงข้าม

สีขั้นที่3 เป็นสีที่ได้จากการนำสีขั้นที่ 2 ผสมกับแม่สีทีละคู่ ก็จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 6 สี คือ ส้มเหลือง ส้มแดง เขียวเหลือง เขียวน้ำเงิน ม่วงแดง ม่วงน้ำเงิน
สีกลาง ป็นสีที่เกิดจากการนำเอาสีทุกสีผสมรวมกันเข้า หรือเอาแม่สีทั้ง 3 สี รวมกัน ก็จะได้สีกลาง ซึ่งเป็นสีเทาแก่ ๆ เกือบดำ

สีคู่ตรงข้าม COMPLEMENTARY COLORS คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันบนวงจรสี เป็นสีที่มีค่าสีตัดกันอย่างชัดเจน โดยสีคู่นี้จะให้ความรู้สึกรุนแรง จัดจ้าน ฉูดฉาด การใช่สีคู่ตรงข้าม จะทำให้ภาพสะดุดน่าสนใจในจุดสีนั้น
คลิกดูได้ที่ https://color.adobe.com/create/color-wheel


3 สี (สีไตรสัมพันธ์) (Triadic Color) เหมาะกับคนที่ชอบสีสัน ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน มีชีวิตชีวา การใช้สีสามสี ที่มีระยะ ห่างจากตัวมันเอง เท่า ๆ กันในวงจรสี เปรียบเหมือนมีรูปสามเหลี่ยม ด้านเท่าวางอยู่บนวงสี และตรงมุม 3 มุมนั้นก็จะเป็นสี 3 สี ที่เข้าชุดกัน

ประสิทธิภาพของการใช้สีไตรสัมพันธ์นี้ ทำให้ค่าน้ำหนัก และความจัดของ สีในงานออกแบบทางศิลปนั้นมีความแตกต่างกัน แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีชีวิตชีวาและมีความสัมพันธ์กัน สร้างความเด่น และสะดุดตาให้แก่ผู้ชมได้

ตามตัวอย่างจะเห็นได้ว่าใช้สี แดง น้ำเงิน เขียว มาใช้งาน

เราสามารถนำของ วัตถุ คน เสื้อผ้า มาใส่ในที่ที่มีสีนั้นได้ เพื่อให้ได้สามสีที่ต้องการได้
การใช้สีที่ใกล้เคียงกัน (ANALOG COLORS) สีที่ใกล้เคียงกัน คือสีที่อยู่เรียงติดกันในวงจรสี จะสร้างความกลมกลืนขึ้นในภาพ ไม่ว่าจะเป็นสีโทนร้อนด้วยกันหรือโทนเย็นด้วยกัน สีชุดนี้สามารถสร้างงานออกแบบที่น่าสนใจได้แบบง่ายดาย เป็นรูปแบบสีที่นำเสนอความหลากหลายมากกว่า Monochromatic ทำให้เรามีสีเลือกในงานกับองค์ประกอบต่างๆ ได้ง่าย ถึงแม้ว่างานที่ใช้สีแบบ Analogous จะไม่ได้ดูโดดเด่น แต่มันจะดูเรียบง่ายและเข้ากันได้อย่างดี




แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทั้งหมดที่กล่าวมาก็เป็นแค่แนวทางนึงเท่านั้น ศิลปะไม่มีถูกไม่มีผิด สามารถอ่านเพิ่มได้ที่หนังสือ Fashion Photography มีทฤฎษีสีอย่างละเอียด และเล่มอื่นๆ
