ชีวิตราวกับเป็นเรืองตลก…เส้นทางอัน หลายหลากมักจะฉุดกระชากลากถูเราให้ ก้าวเข้าสู่จุดนั้นจุดนี้โดยทีไม่ใส่ใจจะส่งสัญญาณแจ้งล่วงหน้าให้มีจังหวะตั้งตัวซึงบางครัง้มันก็ไม่ได้เอื้ออำนวยหรือมีความเกยีวข้องเป็นรูปธรรมต่อกันสักเท่าไหร่นัก
“ช่างภาพ” คือกลุ่มคนอีกประเภทที่ส่วนใหญ่แล้วก็ ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นมาจากลิขิตชีวิตทางด้านนี้ช้ดเจน และบางครั้งก็มาจากสถานท่ีอันไกลโพ้นซึ่งแม้แต่เจ้าตัวก็ยัง หาจุดเริ่ม ต้นท่ีจะชี้ไปยังปลายทางไม่ถนัดนัก มีแต่เพียง ต้องกรำอยู่บนเส้นทางแห่งกรอบสี่เหลี่ยมนี้ต่อไปเบื้องหน้าโดยไม่ยี้หระต่อปัญหาซึ้งจังก้าทะมึนในระยะที่เอื้อมถึง
…เช่นเดียวกับช่างภาพชาว ”วานรนิวาส” ของเราในคราวนี้.

“เราโปรเซสกันก่อนถ่ายมีขยะเราก็เอาออกต้องการแสงลอดก็มาบ่ายสาม ต้องการแสงเลย์ก็จุดควัน อยู่ให้ถูกที่ถูกเวลาต้องการอะไรใส่ในภาพก็ใส่ไปตอนที่ถ่าย…”

แนะนําาตัวกันสักนิดครับ
สวัสดีครับ ช่ือ “โจ้” ชื่อจริง ชาญวิทย์หวานเสร็จที่อยู่ ร้านอินดี้คอฟฟี่เยื้องบขส.อําาเภอวานรนิวาสจังหวัดสกลนคร
ส่วนการศึกษา น้ันแทบจะไม่เก่ียวกับการถ่ายภาพเลยมัธยมก็เรียนสายวิทย์-คณิต (คน น้อยเลยเปิดแต่สายนี้ไม่มีศิลป์-ภาษาเลย ) จบแล้วก็ไม่ได้สมัครเข้า มหาวิทยาลัย เลยเลือกสายอาชีพ เรียน ปวส.อิเล็กทรอนิคส์ ม.ราช มงคล วิทยาเขตสกลนคร จากนั้นก็เปิดร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ (อ้าว จบอิเล็กทาไมมาเปิดร้านซ่อมคอมละ )ส่วนเสาร์อาทิตย์ก็ เรียน ภาคสมทบ ป.ตรี เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์ ม.ราชภัฏสกลนคร
จากน้ันไม่รู้จับพลัดจับผลูไปเป็นครูเอกชนสอนคอมพิวเตอร์ (สอนทุกอย่างที่เขาหินๆและเขาโยนมา ทั้งระบบเครือข่าย เว็บ ฐาน
ข้อมูล โปรแกรมมิ่ง) จากนั้นก็ลาออกไปเป็น พนักงานประจาห้องปฏิบัติการ ม.ราชมงคล วิทยาเขตสกลนคร
ชีวิติก็วนๆเวียนอยู่กับการศึกษาแหละ ครับ ทำไปทำมาก้ร้อนวิชา อยากท่องโลกกว้างบ้าง ก็มุ่งหน้าเข้า กทม. ด้วยกระเป๋าใบเดียว ส่ง resume ไปสมัครงานจนได้งานเป็นเว็บ โปรแกรมเมอร์ที่บริษัทหน่ึงย่านอโศก ทำๆ ไป ก็ออกไปทำอีกบริษัทย่านเอกมัย มากทม.ทำได้ เกือบสองปี เก็บเงินได้ก้อนหนึ่งเลยตัดสินใจ กลับมาอยู่บ้านนอกดีกว่า เพราะมีปัญหา สุขภาพ เป็นไข้บ่อยมากๆ (เป็นโรคภูมิแพ้ กรุงเทพฯ ) มานั่งๆ นอนๆ เล่นที่บ้าน ไม่มีอะไรทาเลยเปิดร้านอินเตอร์เน็ตคาแฟ่ ซึ่ง ก็พอเลี้ยงตัวได้ แต่ก็โดนร้านใหญ่รวบหมด (อย่างว่าปลาใหญ่กินปลาเล็ก) ก็เลยปล่อยให้ แฟนดูแล และตอนนนั้นสำนักงานเขตการศึกษา สกลนครเขต 3 ต้องการคนดูแลเว็บและซ่อม คอมฯ เลยลองไปสมัครดู ทำๆ ไปจนมีคนมา บรรจุก็เลยต้องเร่ร่อนอีกคร้ัง คร้ังสุดท้ายเอา วะ… ก็เลยตามฝัน ทาตามคนอื่นมาท้ังชีวิตขอเลือกเองสักคร้ัง มาเปิดร้านกาแฟนมปั่น แล้ว ก็เริ่มถ่ายรูปและก็อยู่มาจนถึงทุกวันนี้…

เริ่มต้นถ่ายภาพมาจากจุดไหน?
เริ่มต้นถ่ายภาพจากต้องการบันทึกภาพประทับใจที่ได้ไปพบเจอต้องการแชร์ให้คนอื่นได้รับรู้และรู้สึกอย่างที่เรารู้สึกเห็นอย่างที่เราเห็นถ่ายๆไปก็อยากพัฒนาฝีมือและทักษะเลยเริ่มศึกษาถามเข้าอบรมและแกะงานคนอื่น
ภาพแนวไหนที่ถนัดมากที่สุด?
จริงๆแล้วผมถ่ายได้ทุกแนวยกเว้นมาโครเพราะสายตาไม่ดีและสมาธิสั้นแต่ที่ชอบที่สุดก็ภาพถ่ายท่องเที่ยวไปเจอก็ถ่ายไม่ต้องคิดอะไรมากมีความสุขดี
จากนั้นก็ภาพถ่ายบุคคล ทั้งเวดดิ้ง(ถ่ายยเลี้ยงชีพ) และวิถีชีวิต (ถ่ายเล่นงานอดิเรก) จะว่าไปก็ชอบทุกๆแนวแต่แนวที่ชอบมากก็คงจะเป็นวิถีชีวิตชาวบ้านซึ่งบางทีไม่สามารถพบเห็นได้แล้วในยุคปัจจุบันแต่เราเคยเห็นตั้งแต่ตอนเด็กๆหรือแค่ในหนังสือเราอยากให้มันฟื้นคืนชีพอีกครั้งให้คนรุ่นหลังได้รู้ว่าอ้อเมื่อก่อนมันเคยเป็นแบบนี้นะเราควรอนุรักษ์ไว้นะซึ่งบางครั้งการจัดถ่ายมันก็มีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบปะปนกันไปแต่ก็ไม่เคยไปสนใจทาหน้าที่ของเราต่อไป
ผมเคยถ่ายภาพเดก็คนหนึ่งขื่อ “อิโต้” เด็กบ้านนอกจนๆไม่มีแม้เสื้อผ้าใส่ ใส่ชุดนักเรียนชุดเดียวท้ังอาทิตย์ พอผมถ่ายแล้วบอก ออกไปว่า เด็กต้องการความช่วยเหลือ แล้วความช่วยเหลือก็มา
…มีคน บริจาคเงินทุนและเสื้อผ้า จักรยาน ขนม ของกิน อื่นๆ ก็มาเพียบ ไดเงิน มาประมาณสามหมื่นบาท เลยบอกว่าอิโต้และครอบครัวเอาไป ครึ่งหน่ึงละกันเพราะเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ อีกครึ่งขอให้แบ่งเป็นทุน ละ 1,000 ให้กับผู้ที่ไม่มีโอกาสอย่างเรา
สิ่งที่เล่ามาทั้งหมดนี้อยากจะบอกว่า มันมากกว่าภาพถ่ายที่ถ่ายออกมาแล้วก็จบ ภาพถ่ายมันเป็นอะไรได้มากกว่านั้น เราสามารถ ช่วยเพื่อนมนุษย์ได้จากภาพถ่ายที่เราถ่าย จากน้ันก็ถ่ายแนวนี้มาเรื่อยๆครับ

มีวิธีคิดในงานถ่ายภาพยังไง ทำไมภาพถึงสวยได้ขนาดนี้?
จะว่าไปเราก็มีไอดอล และมีครูแดง คุณจักริน ภัสสรดิลกเลิศ เจ้าของไฟน์อาร์ท สตูดิโอ ในจังหวัดขอนแก่น ที่เป็นแนวทางในการถ่าย เราก็มา “เรียนแบบ” แล้วก็ใส่แนวทางของเราเข้าไปโดยอาศัยพื้นฐานจากครูแดง ถ้าไม่มีครูแดงก็ไม่รู้จะหลงทางไปในทิศทางใด ที่แถวบ้านเราก็รวมกลุ่มกัน มี ดาบเหน่ง ด.ต.สราวุธ หวานเสร็จ แฮ็ค สราวุธ อินทรบ ผม ชาญวิทย์ หวานเสร็จ บางคนเรียกสามทหารเสือ เราก็พากันลองผิดลองถูก เอารูปอ้างอิง(Reference) ภาพจากเว็บนอก Rarinda Asit CCline Manny (ดูจากรายชื่อละสายอินโดทั้งนั้น) ใช่แล้วละ พวกเรา “เรียนแบบ” ทางฝั่งอินโดนีเซีย เราใช้ทำว่า เรียน แทนคำว่า “เลียน” นี้เพราะว่าสภาพแสงตัวแบบหรือองค์ประกอบภาพไม่เหมือนกันเราเอาแนวคิดของเขามาเพื่อมาจัดกันเองจะว่าไปอิทธิพลของพวกเรามาจากทางอินโดนีเชียเสียเป็นส่วนใหญ่และมาผนวกกับการถ่ายให้จบหลังกล้องให้มากที่สุดจากแนวคิดครูแดงมันเลยมาเป็นหนึ่งภาพของพวกเราและเวลาออกไปเราจะมีเหมือนกฎว่าไม่หวงมุมเอื้อเฟือแนะนำกันตลอดในหน้างานเลยจะไม่มีมาคอมเม้นท์ในหน้าเฟสเวลาที่ดูรูปแล้วพูดว่าทำไมผมไม่ได้มุมนี้เราจะไม่มีแบบนั้นเราจะบอกกันตลอดว่าผมถ่ายมาละดูหลังกล้องสิมุมนี้สวยมาๆถ่ายมุมนี้หรือดูจากหลังกล้องละมีอะไรรบกวนในภาพก็จะหยิบออกหรือบอกให้กันหลบมันเลยมาเป็นทีมเป็นเหมือนสูตรสำเร็จในการจัดไปแล้ว
ปกติแล้วโปรเซสภาพด้วยอะไร? และมีวิธีคิดอย่างไร?
โปรแกรมในการโปรเซสภาพจะแบ่งเป็นสองโปรแกรม ขั้นเตรียมไฟล์ และขั้นเก็บรายละเอียด ขั้นเตรียมไฟล์นั้นจะใช้ Light room ปรับเบื้องต้น ปรับExpose ดึงShadow ลดHighlight ปรับClarity ลดNoise พอได้ไฟล์ที่ต้องการแล้วก็มาก็ Exportสู่ ขั้นตอนการเก็บรายละเอียด โดยใช้ Photoshop ในการเก็บเช่นขยะ จุดรบกวนภาพ เพราะข้อจำกัดของ Light room ไม่สามารถทำได้หมด ก็ต้องมาใช้ที่โปรแกรมเฉพาะอย่าง Photoshop แล้วก็มารีทัส Dodge Burn ทำขอบมืด ดึงรายละเอียดขึ้นมา ใส่แสง และทำโทนสีของภาพ ตามภาพในหัวเราหรือภาพต้นฉบับที่เราแกะรอยไว้ แต่หลายๆรูปก็สามารถจบที่ Light roomได้เหมือนกันถ้าไม่มีจุดรบกวนภาพมากเกินไปหรืองานพิธีการ เช่นงานแต่งงาน พรีเวดดิ้ง งานบวช งานอีเว้นต่างๆExport มาก็ส่งงานได้ทันที

ขั้นตอนในการโปรเซสภาพและขั้นตอนในการถ่ายภาพจะเชื่อมโยงกันยังไงได้บ้าง?
หัวใจของเราคือเราโปรเซสกันก่อนถ่ายมีขยะเราก็เอาออกต้องการแสงลอดก็มาบ่ายสามต้องการแสงเลย์ก็จุดควันอยู่ให้ถูกที่ถูกเวลาต้องการอะไรใส่ในภาพก็ใส่ไปตอนที่ถ่ายและที่สำคัญในการถ่ายคือถ่ายให้ติดขาวให้น้อยที่สุดเพื่อไม่ให้รบกวนภาพและแย่งสายตาไปยังจุดขาวถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ค่อยมารีทัสเอาเก็บโทนมาให้ครบมากที่สุดเรามีมีดอันหนึ่งเราเรียกกันเล่นๆว่าโฟโตชอบเพราะเอาไว้ฟันกิ่งไม้ที่ไม่ต้องการออกก่อนอิอิพอเรามาทำไฟล์มันก็ง่ายในการทำไฟล์เพราะเรามีภาพจบตั้งแต่ก่อนกดชัตเตอร์แล้วว่าภาพนี้จะออกมายังไงการโปรเซสมันเลยง่ายปรับนิดหน่อยก็ได้ละมันเหมือนการปรุงอาหารเมื่อเรามีวัถุดิบที่ดีสดสะอาดนำมาปรุงอาหารใส่อะไรไปนิดหน่อยก็อร่อยแล้วไม่เหมือนวัดถุดิบที่ไม่ดีไม่สดไม่สะอาดปรุงยังไงมันก็ไม่อร่อย
การมีภาพในหัวมันช่วยให้เวลาเราโปรเซสมีสโคบที่แคบลง ปรับเฉพาะส่วนที่เราคิดไว้ในหัว ไม่ใช่ได้รูปมาละ ปรับๆดู รูดๆดู อ้ออันนี้ก็สวย รูดอีกทีอันนี้ก็สวย มันจะทำให้สะแปสะปะ และเละได้ ต้องมีจุดมุ่งหมายในการปรับ และขั้นตอน Workflow


กลุ่ม “วานรนิวาส” คืออะไร? อยู่ที่ไหน?
วานรนิวาส เป็นอำเภอเล็กๆในจังหวัดสกลนคร ห่างจากตัวจังหวัด 82 กิโลเมตร มี ดาบเหน่ง แฮ็ค ผม หนุ่มและพี่ๆน้องๆจากสกลนครตัวเมืองมาร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นป๋าโชค พี่ตี๋ พี่เอก พี่แจ็ค และหนุ่ม ที่เริ่มจับกลุ่มกันออกไปถ่าย ตอนนั้นยังเล่น Pixproranking.net กันอยู่ ต้องออกไปหาถ่ายภาพเกือบทุกวันเพื่อมาลง อันดับจะได้ขึ้น ก็เคยไปสัมผัสแถวบนกันมาแล้วทุกคน อิอิ จากนั้นก็เริ่มไป 500px.com แล้วก็โพสต์ลง Facebook กันบ้าง คนก็เริ่มถามและติดตามชื่นชอบผลงานที่แหวกแนวจากกลุ่มอื่นที่ถ่ายแต่สาวๆ แต่ทางนี้จะถ่ายวิถีชีวิต เพราะถ้าจะเอารูปแลนด์มาร์ค (Landmark) ไปสู้คนอื่นสู้สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ เราก็คงสู้ไม่ได้คงจะมีแค่วิถีชีวิต ไลฟ์เท่านั้นแหละที่พอจะสู้เขาได้ ก็เลยถ่ายกันมาเรื่อยๆ จนมีเพื่อนพอสมควรแวะเวียนมาหาพาไปถ่ายที่เคยไป บ่อยๆเข้าก็เลยว่า งั้นรวมกันมาเลยดีกว่าจะพาไปถ่ายครั้งเดียว มันก็เลยเป็นการจัดอบรมครั้งแรก ตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าจะใช้ชื่ออะไรในภาพอะไร จะใช้ดรามาติกดีมั๊ย จะใช้อะไรดี ก็เลยโวตกันว่า เอาว่าแนววานรนิวาส วานรนิวาสสไตล์ วานรสไตล์ นี้ละ เพราะว่าคนดูงานและได้เรียกได้ว่า อ้อเนี้ย แนววานร เหมือนที่เราดูรูปแล้วเราก็จะพูดว่าแนวอินโด อะไรอย่างนี้ ก็เลยเอาชื่ออำเภอมาตั้งเป็นชื่อแนวทางในการถ่ายภาพนี้แหละ

อาวุธหลักประจำกายคือ?
ตลอดชีวิตผมตัวคูณมาตลอด เพิ่งได้ฟูลเฟรมมาเสริมทับเพราะบางครั้งรับงานมันก็ต้องมีบ้างที่ต้องดูเป็นมืออาชีพ มีงานหนึ่งเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาว ใช้หนองควัก70-200สีขาวเลยออกมาถ่าย (ผมแน้นคล่องตัวและเบาใช้ฟิก)พอเห็นเท่านั้น อะไม่ได้หรอกจะมาข่มเรารึ ก็เลยเอา80-200f2.8EDออกมาถ่ายกะว่าไม่มีใครยอมใคร อิอิ เสร็จงานกลับบ้าน ผลปรากฏเอวเคล็ดไปหมดเจ็บไหล เพราะต้องแบกกล้อง2ตัวและติดเลนส์เทเลอันหนักนั้นไปด้วย อิอิ หลังๆมาเลยไม่สนละแน้นเบาดีกว่า อุปกรณ์ที่ใช้
Nikon D70s, IR Nikon D7000, Nikon D600
Fisheye 10.5f2.8, AF80-200f2.8ED, AF17-35f2.8ED, AF-S50f1.8G
SB600, Godox x2, Studio Flash Godox300w, Trigger, etc.
ประสบการณ์ถ่ายภาพที่ไม่เคยลืมเลือนคืออะไร? ช่วยเล่าให้เราฟังหน่อย (ถ้ามีภาพที่ประกอบกับเรื่องนี้ช่วยบอกด้วยนะครับ)
ประสบการณที่ดีก็คงเป็นตอนถ่ายรูปหว่านแหคู่ ตอนนั้นถ่ายหว่านแห่เดียวลง 500px.com ปรากฏว่า Popular อยู่หน้าแรก ฝรั่งตาม follow กันมาเยอะมาก จนหนุ่มนาปาลอยากบินมาถ่ายหว่านแหบ้าง เราก็เลยยินดีต้อนรับพาไปถ่าย(หวังว่าไปนาปาลแล้วจะพาเราไปบ้าง อิอิ) พูดภาษาอังกฤษกะเขาจนเหมือยมือเลย ฮ่าๆ แต่ก็ดี เพราะได้ฝึกใช้ภาษาและส่วนมากคุยเรื่องเทคนิคค่ากล้อง ซึ่งมันก็ทับศัพท์อยู่แล้ว แล้วก็ได้รูปมาแล้วก็ส่งประกวด ของ ททท. ไม่ได้รางวัลหรอกแต่ก็ได้ตีพิมพ์ในปฏิทิน ททท. ปีนี้เป็นปฏิทินมี 12 ใบ 2 ใบในนั้นเป็นคนวานรนิวาส ความภูมิใจเล็กๆครับผม


ดูผลงานของ Chanwit ได้ที่ไหนบ้าง?
จากเว็บ http://500px.com/ChanwitWhanset , https://www.facebook.com/chanwit.whanset , www.Chanwity.com
ฝากข้อคิดทิ้งท้ายไปยังผู้อ่านที่ยกเราไว้เป็นไอดอลสักหน่อย
ผมก็ต้องยกเอาคำพูดของไอดอลผม ครูแดง คุณจักริน ภัสสรดิลกเลิศ มาพูดต่อแล้วกัน อิอิ
“การจะถ่ายภาพได้ดีนั้น คุณต้องเป็นคนดี” ไม่มีทางที่คนไม่ดีจะถ่ายรูป ดีได้ ความอิจฉาริษยา รังเกียดเดียดฉัน มันจะอยู่ในภาพถ่ายซึ่งมันจะบ่งบอกตัวตนของคนคนนั้นในภาพนั้นเอง
สุดท้ายจริงๆ สมมุติว่าเราเป็นคนที่พูดแล้วเค้าต้องฟัง…อยากจะบอกอะไรไปถึงวงการถ่ายภาพ?
การแข่งขันด้านราคาของผู้ผลิตทำให้ราคาของกล้องถูกลงใครๆก็สามารถหามาใช้ได้ และทำให้เกิดช่างภาพหน้าใหม่เกิดขึ้นอยู่ทุกวัน ทั้งยังมีการแข่งขันกันด้านราคาในการรับงาน ซึ่งทำให้การแข่งขันเรื่องคุณภาพและฝีมือนั้นเป็นตัวเลือกที่รองลงมา อยากให้จัดมาตรฐานวิชาชีพ สอบใบประกอบวิชาชีพ มีหลักสูตรอบรม เพื่อพัฒนามาตรฐานวิชาชีพช่างภาพให้มีมาตรฐานทั้งด้านคุณภาพและราคาที่เหมาะสม ไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้า เพราะมันจะเสียหายและคนอื่นจะมองช่างภาพไม่ดี ก็ฝากไว้เพียงเท่านี้ครับสวัสดี ☺

อำเภอ วานรนิวาส
– ข้อมูลจาก th.wikipedia.org
อําาเภอวานรนิวาสตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกค่อนไปทางทิศเหนือของจังหวัด ห่างจากตัว จังหวัดสกลนคร 82 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 780 กิโลเมตร ชื่อ “วานรนิวาส” ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่
หัว (รัชกาลที่ 4) เมื่อวันจันทร์ที่ 6 กรกฏาคม พ.ศ. 2404